ประวัติโรงเรียน[2] ของ โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษมูลนิธิ

รูปเหมือนพระครูพิบูลธรรรมสาร ผู้ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษมูลนิธิ

ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ 158 ถนนวิเศษกุล ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เดิมชื่อโรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษ เป็นโรงเรียนราษฎร์ของวัด ตั้งอยู่ใน วัดควนวิเศษ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2490 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 7 ปีกุน ได้รับอนุญาต จัดตั้งโรงเรียน วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ 2491 มีนายพงศ์ แสงทอง อดีตครูใหญ่โรงเรียนวิเชียรมาตุ และพระครูพิบูลธรรมสาร เจ้าอาวาสวัดควนวิเศษ ร่วมมือกันจัดตั้ง โดยใช้ใต้ถุนกุฏิพระเป็นห้องเรียนชั่วคราวการสอนเป็นไปด้วยดีมีตั้งแต่ มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อมาได้ขยายชั้นเรียนจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 6) โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษ ได้เพิ่มคำ “มูลนิธิ” ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2514 ยกฐานะเป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลด้านการเงิน อาคาร สื่อการเรียนการสอน บุคลากร ฯลฯ ทั้งนี้เน้นจัดการศึกษาแบบสงเคราะห์ ให้เรียนฟรีโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการเรียน[3]

เหตุการณ์สำคัญโดยสรุป

  1. จากที่เคยใช้ใต้ถุนกุฏิ ศาลาวัด เป็นโรงเรียน ได้มีการจัดสร้างอาคารเรียนของโรงเรียน
    • พ.ศ. 2491 สร้างสำนักงานมูลนิธิ จากเงินสมทบของรัฐบาล 10,000 บาท และเงินทอดผ้าป่า เงินทอดกฐิน 40,000 บาทรวมเป็น50,000 บาท ปัจจุบันใช้เป็นอาคารประกอบ พ.ศ. 2498 สร้างอาคารเรียนไม้ชั้นเดียว จากเงินบริจาคของประชาชน 2,000 บาท ปัจจุบันรื้อถอนเลิกใช้แล้ว
    • พ.ศ. 2499 สร้างอาคารไม้ 2 ชั้น จากงบ ก.ศ.ศ. ของรัฐบาล 200,000 บาทสมทบ กับคณะกรรมการโรงเรียนจัดหา 50,000 บาทสร้าง 1 หลัง ปัจจุบันใช้เป็นอาคารเรียน
    • พ.ศ. 2506 สร้างอาคารเรียนชั้นเดียว จากเงินทอดกฐิน และจากผู้มีจิตศรัทธา 120,000 บาท ส่วนแรงงานได้เปล่าจากพระภิกษุ สามเณรวัดควนวิเศษ และวัดกะช่องเปี่ยมราษฎร์ ปัจจุบันรื้อเลิกใช้แล้ว
    • พ.ศ. 2535 สร้างที่เรียนชั่วคราว รอบอาคารเรียนไม้ซึ่งสร้างจาดงบ ก.ศ.ศ. โดยใช้ไม้และหลังคา จากอาคารที่จัดสร้าง พ.ศ. 2506
    • พ.ศ. 2536 ก่อสร้างอาคาร แบบ สปช. 2/28 ลักษณะ 3 ชั้น จากงบอุดหนุน สช. 7,443,000 บาท ปัจจุบันใช้เป็นอาคารเรียน (อาคารกตัญญูนุสรณ์ 351) วางศิลาฤกษ์ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2536 โดย ฯพณฯ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี และมีพิธีเปิด เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 โดย ฯพณฯ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี สร้างเป็นอนุสรณ์ ฯพณฯ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ศิษย์เก่าของโรงเรียนเลขประจำตัว 351
    • พ.ศ. 2540 สร้างอาคารเรียนแบบ ค 216 ล 3 ชั้น จากงบอุดหนุน สช. 8,462,000 บาท (อาคารศรีปัญญาภรณ์) โรงเรียนสมทบ 2,000,000 บาท รวม 10,462,000 บาท ปัจจุบันใช้เป็นอาคารเรียน วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2540 โดย ฯพณฯ ชวน หลีกภัย ผู้นำฝ่ายค้าน และมีพิธีเปิด เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2542 โดย ฯพณฯ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรีรอบที่ 2)
    • พ.ศ. 2544 สร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก แบบแปลนเขียนเอง 5 ชั้น (อาคาร 90 ปี พระครูพิบูลธรรมสาร) จากงบอุดหนุน สช. 8,211,600 บาท โรงเรียนสมทบ 3,867,262 รวม 12,078,862 บาท
    • พ.ศ. 2548 โรงเรียนได้ใช้งบประมาณของโรงเรียนจำนวน 13,943,000 ล้าน ก่อสร้าง อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร ชั้นที่ 2 เป็นห้องวิทยบริการ ชั้นที่ 3 เป็นโรงยิมเนเซียม
  2. ได้ซื้อที่ดิน ทางด้านหน้าของโรงเรียน เพิ่มให้บริเวณกว้างขวาง
  3. ได้ขยายชั้นเรียน จาก ม.1 – ม.6 ในปัจจุบันและเน้นการศึกษาแบบสงเคราะห์
  4. กระทรวงรับรองวิทยฐานะ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2503
  5. ได้รับอนุญาตเปิดรับนักเรียนหญิง เข้าร่วมกับนักเรียนชาย ปีการศึกษา 2511
  6. ได้รับอนุญาตจดทะเบียนมูลนิธิเพื่อการศึกษา เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
  7. ได้รับโอนจากโรงเรียนราษฎร์ของวัด เป็นโรงเรียนการกุศลของวัดเมื่อ พ.ศ. 2534
  8. พระครูศรีปัญญาภรณ์ (วิศิษฐ์ อธิปฺปญฺโญ) เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531-2545 ต่อมารับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระสิทธิธรรมคณี และพระราชสารโสภณตามลำดับ
  9. ปรับเปลี่ยนผู้รับใบอนุญาต จากพระสิทธิธรรมคณี (วิศิษฐ์ อธิปฺปญฺโญ ) เจ้าคณะจังหวัดตรังเป็นพระครูศรีปัญญาภรณ์ (จำนง อภิชาโต) เจ้าคณะอำเภอเมืองตรัง ตั้งแต่ 15 มกราคม 2546[4]

ใกล้เคียง

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนราชินี โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม โรงเรียนนายร้อยตำรวจ